วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

โครงงานเรื่องการละเล่นพื้นบ้าน2560

โครงงานคอมพิวเตอร์
การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เรื่อง การละเล่นพื้นบ้าน
   เด็กชายธงชัย           โพธิคลัง              เลขที่ 2
   เด็กชายรณชิต           ธีระชาติ               เลขที่ 6
   เด็กชายศกร               สีดามา               เลขที่ 8
   เด็กหญิงกฤติยา                 เรืองแจ้ง           เลขที่ 9
   เด็กหญิงวชิรพร                  สุพร                         เลขที่ 16
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3/1
คุณครูที่ปรึกษา
คุณครูณัฏฐิกา สิทธิจันทร์
โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาคอมพิวเตอร์
ปีการศึกษา 2559 ภาคเรียนที่ 2
โรงเรียนหัวโทนวิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27

                                             
เกี่ยวข้องกับโครงงาน
                                                                                 
โครงงาน คอมพิวเตอร์
เรื่อง การละเล่นพื้นบ้าน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ผู้จัดทำ                  1. เด็กชายธงชัย โพธิคลัง เลขที่ 2
                             2.เด็กชายรณชิต ธีระชาติ เลขที่ 6
        3. เด็กชายศกร สีดามา    เลขที่ 8
        4. เด็กหญิงกฤติยา เรืองแจ้ง  เลขที่ 9
        5. เด็กหญิงวชิรพร สุพร เลขที่ 16
ครูที่ปรึกษา          1. คุณครูณัฏฐิกา  สิทธิจันทร์
สถานศึกษา             โรงเรียนหัวโทนวิทยา
ปีการศึกษา             2559




                                                                          ก
กิตติกรรมประกาศ
รายงานโครงงานวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง การละเล่นพื้นบ้าน สำเร็จลงได้ด้วยความกรุณาของ
คุณครู ณัฏฐิกา สิทธิจันทร์   ที่ได้เสียสละในการให้ความรู้ คำแนะนำ  ตลอดจนให้ความช่วยเหลือ   จนสามารถสำเร็จลงได้ซึ่งผู้เขียนขอกราบขอบพระคุณไว้ ณ โอกาสนี้
ขอขอบพระคุณคุณพ่อ  คุณแม่ และบุคคลในครอบครัวทุกท่านที่ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ การละเล่นพื้นบ้านของแต่ละภาค  ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานสำคัญในการทำรายงานโครงงานนี้สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณเพื่อนๆ พี่ๆ ที่ได้ให้คำปรึกษา และกำลังใจมาตลอดระยะเวลาที่ทำโครงงานมา
                                                                            ผู้จัดทำ
                              
หัวข้อโครงาน    : การสร้างเว็บบล็อก ( Weblog) ด้วย (Blgger) เรื่อง การละเล่นพื้นบ้าน
ประเภทโครงงาน : การพัฒนาสื่อ  เพื่อการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ผู้จัดทำ           :  เด็กชายธงชัย โพธิคลัง   เลขที่ 2
                         เด็กชายรณชิต ธีระชาติ เลขที่ 6
                       เด็กชายศกร สีดามา       เลขที่ 8
                                 เด็กหญิงกฤติยา เรืองแจ้ง เลขที่ 9
                         เด็กหญิงวชิรพร สุพร       เลขที่16
ครูที่ปรึกษา      :   ครูณัฏฐิกา สิทธิจันทร์
ปีการศึกษา      :   2559
                                                                                                                     ข
บทคัดย่อ
โครงงานเรื่อง การละเล่นพื้นบ้าน เป็นโครงงานระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น   มีจุดมุ่งหมาย ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาความหมายของการละเล่นพื้นบ้าน  ๒) เพื่อศึกษาลักษณะต่างๆของการละเล่นพื้นบ้านในแต่ละภาค  ๓) เพื่อที่จะให้ทุกคนได้ตระหนักเห็นคุณค่า        และร่วมอนุรักษ์ พัฒนา สืบสานมรดกทางภูมิปัญญาอันมีค่าไว้ต่อไป
การดำเนินงานค้นคว้าและเรียบเรียงโครงงานเรื่องเพลงพื้นบ้าน มีขั้นตอนดังนี้ ๑) กำหนดชื่อเรื่อง ๒) ศึกษาเอกสาร  ๓) เสนอเค้าโครงต่อครูที่ปรึกษา  ๔) ลงมือปฏิบัติ  ๕) วิเคราะห์ข้อมูล  ๖) เขียนรายงาน ๗) จัดทำรูปแบบการนำเสนอ
สิ่งที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า คือ การละเล่นพื้นบ้าน เป็นการละเล่นของเด็กๆที่ใช้      เล่นกันในท้องถิ่น มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียม ประเพณีความนิยม ความเชื่อของท้องถิ่น มักใช้ถ้อยคำเรียบง่าย มีสำนวนคมคาย  อันเกิดจากปฏิญาณไหวพริบ และสามารถทำให้เป็นที่รู้จักของเพื่อนๆ และบุคคลที่สนใจไม่สูญหายไปจากท้องถิ่น








สารบัญ
เรื่อง                                                             หน้า                                                                                                                                                                 
กิตติกรรมประกาศ                                                                                                                                                                                     
บทคัดย่อ                                                                                     ข                                                                                
บทที่ ๑ บทนำ
บทที่ ๒  ความหมายของการละเล่นพื้นบ้าน
ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลาง
ภาคใต้
คุณค่าของการละเล่น
บทที่ ๓ วิธีการดำเนินงาน
บทที่ ๔ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ ๕ สรุปและอภิปรายผล
บรรณานุกรม
1                                                                                                                     
บทที่ ๑
         บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
เนื่องจากพวกเรา เห็นว่า การละเล่นพื้นบ้านมีรากฐานมาอย่างยาวนาน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่แสดงออกถึงอัตลักษณ์และตัวตนของแต่ละภาคของคนไทย        แต่   ขณะนี้   การละเล่นพื้นบ้านไม่ค่อยเป็นที่นิยมของคนในสังคม  ข้าพเจ้าเห็นว่า การละเล่นพื้นบ้านของแต่ละภาคนี้น่าศึกษาและรวมรวมไว้เผยแพร่ ให้ผู้อื่นได้รู้จักและศึกษา เพื่อเป็นการอนุรักษ์มรดกทางภูมิปัญญา  จึงได้จัดทำโครงงาน เรื่องนี้ขึ้นมา
วัตถุประสงค์
–  เพื่อศึกษาความหมายของการละเล่นพื้นบ้าน
–  เพื่อที่จะให้ทุกคนได้ตระหนักเห็นคุณค่า และร่วมอนุรักษ์ พัฒนา สืบสานมรดกทาง  ภูมิปัญญาอัน
มีค่า ไว้ต่อไป
หลักการและทฤษฎี
–  การละเล่นพื้นบ้าน  หมายถึง การละเล่นที่เกิดจาก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของคนในท้องถิ่นนำมาเล่นเพื่อ ความสนุกสนาน  เพลิดเพลิน



           2                                                                                            
บทที่ ๒
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 ความหมายของการละเล่นพื้นบ้าน
คำว่า การเล่นหมายถึง การกระทำเพื่อสนุกหรือผ่อนอารมณ์ ซึ่งตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า  play หรือ game ซึ่งมีความหมายต่างกัน
คำว่า “play” มีผู้ให้ความหมายว่าเล่นสนุกเป็นการเล่นคนเดียวก็ได้ หลายคนก็ได้ เล่นโดยสมัครใจไม่มีใครบังคับ
คำว่า “game” มีผู้ให้ความหมายไว้มากมาย สรุปได้ว่าเป็นการเล่นที่มีกฎเกณฑ์บังคับผู้เล่นต้องเล่นตามกฎเกณฑ์นั้น
การเล่นของไทยมีความหมายกว้างกว่าเพราะมีลักษณะร่วมอยู่ในความหมายของทั้งสองคำ
คำว่า การละเล่นเป็นคำที่เกิดขึ้นใหม่ผู้เชี่ยวชาญทางภาษาไทย บางท่านกล่าวว่าเป็นการปรับเสียงคำว่า การเล่นให้ออกเสียงง่ายขึ้น ผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร ให้ความหมายกว้างออกไปถึงการเล่นเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ให้เกิดความรื่นเริงบันเทิงใจหลังจากประกอบกิจประจำวัน และการเล่นในเทศกาลท้องถิ่น   ดังนั้น
การละเล่นพื้นบ้าน  จึงหมายถึง กิจกรรมการเล่นของสังคม เป็นกิจกรรมนันทนาการหนึ่งซึ่งได้รับการยอมรับร่วมกันในสังคม โดยมีรากฐานมาจากความเป็นจริงแห่งวิถีชีวิตของชุมชนที่มีการประพฤติปฏิบัติ สืบทอดกันมาจากอดีตสู่ปัจจุบัน การละเล่นแสดงออกด้วยการเคลื่อนไหวกริยาอาการเป็นหลัก อาจมีดนตรี การขับร้องหรือการฟ้อนรำประกอบการเล่น มีจุดมุ่งหมาย เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินในโอกาสต่าง ๆ การละเล่นบางชนิดได้รับการถ่ายทอดสืบสานต่อกันมา และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนารูปแบบอย่างต่อเนื่องจนมีลักษณะเฉพาะถิ่น ดังนี้การละเล่นพื้นบ้านจึงเป็นผลิตผลอันเกิดจากความคิดและจินตนาการของ มนุษย์ ย่อมสะท้อนถึงโลกทัศน์ ภูมิธรรม และจิตวิญญาณของบรรพชนในท้องถิ่นที่ได้ถูกหล่อหลอมจนตกผลึกเป็นภูมิปัญญาอัน ทรงคุณค่าและได้กลายเป็นมรดำวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของประเทศชาติ
การละเล่นนับว่ามีความสัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการละเล่นของเด็กและของผู้ใหญ่ล้วนแสดงออกถึงสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณีค่านิยมและความเชื่อของ
3
สังคมนั้น ๆ ทั้งยังก่อคุณค่าแก่ผู้เล่นและผู้เฝ้าดู ในด้านการผ่อนคลายอารมณ์ ความเครียด เสริมสร้างพลังกายให้แข็งแรง ฝึกความคิด ความเข้าใจ การแก้ปัญหานอกจากนี้ยังก่อให้เกิดระเบียบวินัย เกิดการยอมรับกฎเกณฑ์ของสังคม สรรค์สร้างความเป็นกัณยาณมิตรขึ้นในชุมชน ทำให้สังคมเกิดความเข้มแข็งจนก่อเป็นความดีงามอันเป็นเป้าหมายสูงสุดแห่งชีวิต

การละเล่นพื้นบ้านภาคเหนือ
          ในภาคเหนือ ภูมิประเทศเป็นป่าเขา ต้นน้ำลำธาร อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ การทำมาหากินสะดวกสบาย ชาวเหนือจึงมีนิสัยอ่อนโยน ยิ้มแย้มแจ่มใส มีน้ำใจไมตรี การแสดงพื้นเมืองจึงมีลีลาอ่อนช้อย งดงามและอ่อนหวานการแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ เรียกกันว่า ฟ้อน มีผู้แสดงเป็นชุดเป็นหมู่ร่ายรำท่าเหมือนกัน แต่งกายเหมือนกัน มีการแปรแถวแปรขบวนต่าง ๆ
ลักษณะของการแสดงพื้นเมือง ได้แก่ ลีลาการเคลื่อนไหว เป็นไปตามเอกลักษณ์ของแต่ละภาค
เครื่อง แต่งกาย เป็นลักษณะพื้นเมืองของภาคนั้น ๆเครื่องดนตรี เป็นของท้องถิ่น ได้แก่ ปี่แน กลองตะโล้ดโป๊ด ฉาบใหญ่ ฆ้องโหม่ง ฆ้องหุ่ยเพลงบรรเลงและเพลงร้อง เป็นทำนองและสำเนียงท้องถิ่น
          การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ ได้แก่ ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บหรือฟ้อนเมือง ฟ้อนลาวแพน ฟ้อนรัก ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนดวงเดือน ฟ้อนดวงดอกไม้ ฟ้อนดวงเดือน ฟ้อนมาลัย ฟ้อนไต ฟ้อนดาบ ฟ้อนโยคีถวายไฟ ระบำชาวเขา รำกลองสะบัดไช
เพลงพื้นเมืองภาคเหนือ เช่น เพลงซอ เพลงชาวเหนือ เพลงดวงดอกไม้




4
การละเล่นภาคเหนือ
คำอธิบาย: m5
ชื่อ   ซิกโก๋งเก่ง                                                                                                                ภาค  ภาคเหนือ   จังหวัด  พะเยา
อุปกรณ์    โก๋งเก๋งทำจากไม้ไผ่ ท่อนปลายของไม้รวก หรือไม้ซาง ตัดให้สูง ประมาณ ๒-๒.๕ เมตร ใช้มีดตัดเจาะกิ่งไผ่ที่เป็นปมอยู่ข้อตาไผ่ออกให้หมด แต่ต้องเหลือไว้ตรงข้อแรกของไม้ไผ่ให้เป็นปมอยู่ เหลาข้ออื่นๆ ให้เรียบเพื่อสะดวกในการจับถือ หาปล้องไม้ไผ่ที่ใหญ่กว่า ๒ ท่อนแรก ตัดให้เหลือข้อปล้องไว้ด้านหนึ่งยาวประมาณ๑๕-๓๐ เซนติเมตร จำนวน ๒ ท่อน เจาะรู ๒ ด้าน เสร็จแล้วนำไปสวมเข้ากับไม้ ๒ ท่อนแรก โดยให้ไม้ที่สวมนั้นไปค้างติดอยู่กับข้อตาไผ่ที่เหลือไว้ แล้วใช้ผ้าพันตรงไม้ ๒ ท่อนประกบกันให้แน่น
วิธีการเล่น   ใช้มือถือไม้โก๋งเก๋งตั้งขึ้นให้ตรง แล้วค่อยก้าวเท้าใดเท้าหนึ่ง ขึ้นเหยียบบนไม้โก๋งเก๋ง ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เท้าซ้ายขึ้นก่อน แล้วก้าวเท้าขวาตามตั้งตัวให้สมดุลแล้วค่อย ๆ ก้าวเท้าใดเท้าหนึ่งออกไป ถ้าล้มก็ขึ้นใหม่เดินใหม่จนคล่อง
คำอธิบาย: ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ชนกว่าง
ชื่อ  ชนกว่าง   ภาค  เหนือ    จังหวัด  เชียงใหม่


     5
 ในบรรดาการละเล่นพื้นบ้านทางภาคเหนือโดยเฉพาะการละเล่นที่เกี่ยวข้องกับสัตว์นั้น การเล่นว่างนับได้ว่าเป็นที่นิยมไม่น้อยกว่าการชนไก่ กัดปลา ชนวัว หรือวิ่งควาย ของภาคอื่น ๆ กว่าง  เป็นแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่งอยู่ในตระกูลด้วงมี ๖ ขา แต่ละขามีเล็บสำหรับเกาะยึดกิ่งไม้ ใบไม้ได้อย่างมั่นคงกว่างบางชนิดมีเขา บางชนิดไม่มีเขา บางชนิดไม่นิยมนำมาเลี้ยง บางชนิดนิยมเลี้ยงไว เช่น  อุปกรณ์ในการเล่น   กว่างที่นิยมนำมาเลี้ยงไว้ชนนั้นจะเป็นกว่างตัวผู้และมีเขาทั้งบนและล่าง ปลายเขาจะแยกออกเป็นแฉกและแหลมคม เขาบนติดกับส่วนหัวไม่สามารถขยับได้ ส่วนเขาล่างสามารถขยับหนีบได้ซึ่งส่วนเขานี้เองคืออาวุธสำคัญในการต่อสู้กับศัตรู
โอกาสหรือเวลาที่เล่น   ฤดู กาลเล่นชนกว่างจะเริ่มต้นตั้งแต่กลางฤดูฝนไปจนถึงต้นฤดูหนาวโดยชาวบ้านจะไป จับตามกอไม้รวกด้วยการเขย่าให้ตกลงมา ถ้าเห็นว่ามีลักษณะดีตรงตามชนิดที่จะสามารถนำมาเลี้ยงไว้ชนได้ก็จะนำมา เลี้ยงโดยให้อาหารจำพวกหน่อไม้ ลูกบวบ กล้วยสุก อ้อย
การละเล่นพื้นบ้านภาคอีสาน
     ภูมิประเทศภาคอีสานเป็นที่ราบสูง ค่อนข้างแห้งแล้งเพราะพื้นดินไม่ เก็บน้ำ ฤดูแล้งจะกันดาร ฤดูฝนน้ำจะท่วม แต่ชาวอีสานก็มีอาชีพทำไร่ทำนา และเป็นคนรักสนุก จีงหาความบันเทิงได้ทุกโอกาส การแสดงของภาคอีสาน มักเกิดจากกิจวัตรประจำวัน หรือประจำฤดูกาล เช่น แห่นางแมว เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งสวิง เซิ้งกระติบ รำลาวกระทบไม้ ฯลฯ
      ลักษณะ การแสดงซึ่งเป็นลีลาเฉพาะของอีสาน คือ ลีลาและจังหวะในการก้าวเท้า มีลักษณะคล้ายเต้น แต่นุ่มนวล มักเดินด้วยปลายเท้าและสะบัดเท้าไปข้างหลังสูง เป็นลักษณะของ เซิ้ง
ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ได้แก่ กลองยาว กรับ ฉาบ โหม่ง แคน โปงลาง
การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน ได้แก่ ฟ้อนภูไท เซิ้งสวิง เซิ้งโปงลาง เซิ้งตังหวาย ภูไทสามเผ่า ไทภูเขา เซิ้งกระติบข้าว    เพลงพื้นเมืองภาคอีสาน เช่น หมอลำ เพลงโคราช เจรียง กันตรึม เพลงล่องโขง เพลงแอ่วแคน




6
การละเล่นภาคอีสาน
                                                               
คำอธิบาย: ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โปงลาง
ชื่อ  โปงลาง   ภาค  ตะวันออกเฉียงเหนือ   จังหวัด  กาฬสินธุ์
โปงลางเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของอีสานชนิดหนึ่งที่ถือกำเนิดที่จังหวัดกาฬสินธุ์ จึงถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดกาฬสินธุ์มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ โดยเฉพาะผู้สืบทอด และอนุรักษ์ไว้ คือ นายเปลื้อง ฉายรัศมี ศิลปินแห่งชาติ โปงลางจึงควรแก่การอนุรักษ์และถ่ายทอดให้เยาวชนรุ่นหลังได้ทราบ และตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมที่ดีงามและคุณความดีของบุคคลที่น่ายึดถือเป็นแบบอย่างสืบทอดไว้ตราบชั่วกาลนาน
อุปกรณ์   การเล่นโปงลางต้องประกอบไปด้วยดนตรีพื้นบ้าน ได้แก่ แคน ซอ พิณ หมากกั๊บแก้บ กลอง ไห นอกจากนี้ปัจจุบันได้พัฒนาขึ้นโดยมีนักร้องและผู้ร่ายรำประกอบเสียงดนตรีในวงโปงลางอีกด้วย
คำอธิบาย: http://student.swu.ac.th/sc511010362/workhome/images/snake.gif
ชื่อ  การเล่นงูกินหา  ภาค  ตะวันออกเฉียงเหนือ  อุปกรณ์การเล่น

7
หางงูที่ทำจากผ้าหรือกระดาษขมวดเป็นเกลียวยาวเท่าๆ กัน ๒ หาง สนามที่และสนามเล่น สถานที่เป็นพื้นที่โล่งราบเรียบ ขนาดประมาณ ๑๕ x ๑๕ เมตร สนามเล่นทำเส้นเป็นวงกลมรัศมี ๖ เมตร
ผู้เล่นมีจำนวน ๘-๑คน แบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายที่ ๑ จะต้องเป็น พ่องู คน ฝ่ายที่ ๒ มี แม่งู คน ที่เหลือเป็น ลูกงูซึ่งผู้เล่นเป็นลูกงูจะต้องเกาะเอวผู้เล่นเป็นแม่งู จากนั้น พ่องูเริ่มถามว่า แม่งูเอ๋ยแม่งูและลูกงูก็ร้องตอบว่า เอ๋ยพอช่วงท้ายพ่องูถามว่า กินหัว กินหางแม่งูตอบว่า กินกลางตลอดตัวผู้เป็นพ่องูจะไล่จับลูกงูจากปลายแถว ฝ่ายแม่งูจะต้องกางมือเพื่อป้องกันลูก หากลูกงูตัวใดถูกพ่องูดึงจนหลุดออกจากแถวไป ก็จะต้องออกจากการเล่น ผู้เล่นที่เหลือก็เริ่มเล่นกันอีกจนกว่าลูกงูจะถูกจับจนหมด
การละเล่นพื้นเมือง ภาคกลาง 
ภาค กลางมีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำหลายสาย เหมาะแก่การกสิกรรม ทำนา ทำสวน ประชาชนอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ จึงมีการเล่นรื่นเริงในโอกาสต่าง ๆ มากมาย ทั้งตามฤดูกาล ตามเทศกาล และตามโอกาสที่มีงานรื่นเริง  ภาคกลาง เป็นที่รวมของศิลปวัฒนธรรม การแสดงจึงมีการถ่ายทอดสืบต่อกัน และพัฒนาดัดแปลงขึ้นเรื่อยๆ จนบางอย่างกลายเป็นการแสดงนาฏศิลป์แบบฉบับไปก็มี เช่น รำวง และเนื่องจากเป็นที่รวมของศิลปะนี้เอง ทำให้คนภาคกลางรับการแสดงของท้องถิ่นใกล้เคียงเข้าไว้หมด แล้วปรุงแต่งตามเอกลักษณ์ของภาคกลาง คือการร่ายรำที่ใช้มือ แขนและลำตัว เช่นการจีบมือ ม้วนมือ ตั้งวง การอ่อนเอียง และยักตัว
การแสดงพื้นเมือง ภาคกลาง ได้แก่ รำวง รำเหย่ย เต้นกำรำเคียว เพลงเกี่ยวข้าว รำชาวนา เพลงเรือ เถิดเทิง เพลงฉ่อย รำต้นวรเชษฐ์ เพลงพวงมาลัย   เพลงอีแซว เพลงปรบไก่ รำแม่ศรี
ดนตรี ที่ใช้ประกอบการแสดง ได้แก่ วงปี่พาทย์
เพลงพื้นเมืองภาคกลาง เช่น เพลงเหย่อย เพลงเทพทอง เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงสงฟาง เพลงพิษฐาน เพลงเต้นกำ เพลงรำเคียว เพลงพวงมาลัย เพลงชาวไร่ เพลงระบำ เพลงบ้านนา เพลงปรบไก่ เพลงสวรรค์ เพลงแอ่วซอ
เพลงพื้นเมือง บางอย่างได้วิวัฒนาการมาเป็นการแสดงที่มีศิลปะ มีระเบียบแบบแผน เช่น


8
ทรงเครื่อง คือ เพลงฉ่อย ที่แสดงเป็นเรื่อง ได้แก่ เรื่องขุนช้างขุนแผน หรือเรื่องที่แต่งขึ้นมาใหม่
ลักษณะการแสดง เริ่มด้วยการไหว้ครู แล้ว่าประ แก้กันอย่างเพลงฉ่อยตามประเพณี แล้วก็แสดงเป็นเรื่องอย่างละคร ร้องดำเนินเรื่องด้วยเพลงฉ่อย และเพลงอื่นแทรกบ้าง ใช้วงปี่พาทย์รับการร้องส่งบ้างหรือบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ประกอบกิริยาของตัว ละครบ้าง
การละเล่นภาคกลาง
คำอธิบาย: http://158tirsara.c-education.net/3901-%206001/img/14.png
ชื่อ ชักเย่อ   ภาค กลาง    จังหวัด ฉะเชิงเทรา
แนวขนานกับพื้นทั้งสองมือ ไม้จะนอนขนานกับเส้นแบ่งแดน ลูกน้องของแต่ละฝ่ายเกาะเอวหัวแถวเรียงต่อ ๆ กัน เริ่มเล่นต่างฝ่ายพยายามดึงให้ฝ่ายตรงข้ามหลุดล้ำเข้ามาในแดนตน ฝ่ายใดหลุดล้ำถือเป็นฝ่ายแพ้ เมื่อแพ้ทั้งสองฝ่ายก็จะเริ่มต้นเล่นเพลงระบำกัน พอจบก็เริ่มชักเย่อกันใหม่
โอกาสที่เล่น   ชักเย่อเป็นการละเล่นประกอบเพลงระบำเช่นเดียวกันช่วงรำที่ชาวบ้านหัวสำโรงเล่นในวันสงกรานต์เช่นกัน
คุณค่าในอดีต  กิจกรรมที่สามารถเป็นสื่อชักนำให้หนุ่มสาวได้มาพบกัน ก็คืองานบุญและการละเล่นหลังทำบุญการเล่นชักเย่อก็เช่นกัน ทำให้หนุ่มสาวได้พบหน้าเกี้ยวพาราสีและสนุกสนานด้วยกัน แต่ปัจจุบันคนหนุ่มสาวมีโอกาสพบกันโดยไม่มีข้อจำกัด




10
คำอธิบาย: ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ว่าว

ชื่อ ว่าว
อุปกรณ์
ว่าวโดยทั่วไปมีโครงสร้าง ประกอบด้วยไม้ไผ่สีสุกนำมาผ่าแล้วเหลาให้ได้ตามที่ต้องการแล้วนำมาประกอบกัน ให้เป็นรูปทรงต่างๆผูกติดกันด้วยเชือกโยงยึดกันเป็นโครงสร้างและปิดด้วย กระดาษชนิดบางเหนียว เช่น กระดาษสาและตกแต่งลวดลายด้วยจุดหรือดอกดวงเพื่อปิดยึดกระดาษกับเชือกให้แน่น ว่าวที่นิยมกันคือ ว่าวจุฬา     ว่าวปักเป้า     ว่าวหง่าว
ว่าวจุฬาซึ่งมี โครงสร้างประกอบด้วยไม้ไผ่สีสุก 5 ชิ้น มีจำปา 5 ดอกทำด้วยไม้ไผ่ยาว 8 นิ้ว เหลากลมโตประมาณ 3 มิลลิเมตร จำปา 1 ดอกมีจำนวนไม้ 8 อันมัดแน่นกับสายป่านที่ชักว่าวจุฬาอันเป็นอาวุธที่ใช้ต่อสู้กับปักเป้า
ว่าวปักเป้า มีโครงสร้างประกอบด้วยไม้ไผ่สีสุกเหลากลม 2 ชิ้นมีเหนียงเป็นเชือกยาว 8 เมตรผูกปลายทั้งสองข้างให้หย่อนเป็นสายรูปครึ่งวงกลมเพื่อคล้องตัวว่าวจุฬา ให้เสียสมดุลจึงตกลงพื้นดิน
ว่าวหง่าว ทำด้วยโครงไม้ไผ่ปิดกระดาษสา ลำตัวตอนบนมีรูปคล้ายอกว่าวจุฬามีเอวคอดและท่อนล่างกว่าท่อนบน ตอนส่วนหัวมีไม้ไผ่เหลาและขึงเชือกเหมือนคันธนู ส่วนขึงเชือกนี้จะเกิดเสียงเมื่อต้องลม เสียงนี้ช่วยกำจัดความชั่วร้ายได้
ปัจจุบันว่าวที่มีการเล่นโดยทั่วไปได้มีการ พัฒนารูปแบบการเล่นเพื่อความสวยงาม โดยทำว่าวให้เป็นรูปแบบที่แปลกแตกต่างกันออกไปเป็นรูปสัตว์ต่างๆ เช่น ว่าวงู ว่าวผีเสื้อ ฯ ลฯ
  วิธีการเล่นมีอยู่ 3 วิธี คือ
1.ชักว่าวให้ลอยลมปักอยู่กับที่ เพื่อดูความสวยงามของว่าวรูปทรงต่างๆ
2.บังคับสายชักให้ชักเคลื่อนไหวได้ตามต้องการ นิยมกันที่ความสวยงาม ความสูง และบางทีก็คำนึงถึง
11
3.การต่อสู้ทำสงครามกันบนอากาศ คือ การแข่งขันว่าวจุฬาและปักเป้าคว้ากันบนอากาศจะจัดให้มีการแข่งขันที่บริเวณ ท้องสนามหลวงกำหนดแดนขณะทำการแข่งขัน ว่าวปักเป้าจะขึ้นอยู่ในดินแดนของตน ล่อหลอกให้ว่าวจุฬามาโฉบเพื่อจะลากพามายังดินแดนของตนโดยให้ว่าวปักเป้าติด ตรงดอกจำปาที่ติดไว้ เมื่อติดดีแล้วว่าวจุฬาจะรีบลากรอกพามายังดินแดนของตน ขณะเดียวกันว่าวปักเป้าก็จะพยายามใช้เหนียงที่เป็นเชือกป่านคล้อกงตัวว่าว จุฬาให้เสียสมดุล และชักลากดึงให้ตกลงมายังดินแดนของตน ในการเล่นว่าวจุฬาลากพาว่าวปักเป้าเข้ามาทีละตัวหรือหลายตัวก็ได้ ถ้าต่างฝ่ายต่างนำคู่แข่งขันมาตกยังดินแดนของ ตนเองได้ก็ถือว่าเป็นฝ่ายชนะแต่ถ้าขณะชักลากพามา ว่าวปักเป้าขาดลอยไปได้ถือว่าไม่มีฝ่ายใดได้คะแนน
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
การแข่งขันว่าวเป็นกีฬาซึ่งเป็น เอกลักษณ์ของไทย เป็นศิลปะที่ต้องใช้ความสามารถของผู้ทำว่าวและผู้ชักว่าวเป็นอย่างมากต้อง ใช้ความประณีต และความแข็งแรง ข้อสำคัญต้องอาศัยความพร้อมเพรียงด้วย
การละเล่นพื้นเมืองภาคใต้
ภาค ใต้ เป็นดินแดนที่ติดทะเลทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออก ทางด้านใต้ติดกับมลายู ทำให้รับวัฒนธรรมของมลายูมาบ้าง และมีขนบประเพณีวัฒนธรรมและบุคคลิกบางอย่างคล้ายคลีงกัน คือ พูดเร็ว อุปนิสัยว่องไว ตัดสินใจรวดเร็วเด็ดขาด การแต่งกาย เพลง และดนตรีคล้ายคลึงกันมาก
การแสดงพื้นเมืองภาคใต้ แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
๑. มหรสพ คือ การแสดงเป็นเรื่อง เช่น หนังตะลุง มีตัวหนัง มีคนเชิด มีการร้องและเจรจา นอกจากนั้นมี ลิเกป่า หรือลิเกรำมะนา หรือลิเกแขกแดง หรือลิเกแขกเทศ หรือลิเกบก ซึ่งผู้แสดงโต้ตอบกันเป็นเรื่องราว อีกการแสดงคือ โนรา ถ้าเล่นเป็นเรื่องก็ถือเป็นมหรสพ แต่ถ้าร่ายรำเป็นชุด ก็10
๒. การแสดงเบ็ดเตล็ด คือ ร่ายรำเป็นชุด เช่น โนรา รองเง็ง ซัมเปง ตารีกีปัส ระบำร่อนแร่ กรีดยาง ปาเต๊ะ รำซัดชาตรี ดนตรีของภาคใต้ ได้แก่ กลองแขก รำมะนา ปี่ ทับ โหม่ง ฉิ่ง ซอ
เพลงพื้นเมืองภาคใต้ เช่น เพลงร้องเรือ(เพลงกล่อมเด็ก) เพลงบอก เพลงกำพรัด(หรือคำพลัด)

12
การละเล่นภาคใต้

คำอธิบาย: ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เป่ากบ
ชื่อ   เป่ากบ
ภาค  ภาคใต้จังหวัด  นราธิวาส อุปกรณ์และวิธีการเล่นอุปกรณ์๑. ยางวง (ยางเส้น) วงใหญ่ หรือวงเล็กก็ได้ แล้วแต่ความชอบและความถนัด๒. ผู้เล่นจำนวนตั้งแต่ ๒ คน หรือมากกว่า
เล่นทั้งเด็กชายและเด็กหญิงบางครั้งอาจเล่นเป็นทีมก็ได้๓. สถานที่ เช่น พื้นซีเมนต์ พื้นกระดาน หรือพื้นโต๊ะ
วิธีการเล่น 
เป่า กบเป็นการเล่นอย่างหนึ่งของเด็ก เล่นกันทั้งเด็กชายและหญิง ผู้เล่นมีจำนวน ๒ คน หรือเป็นทีมก็ได้ สถานที่เล่น ในที่ร่ม ใช้พื้นที่เรียบ ๆ เช่น พื้นซีเมนต์ พื้นกระดาน หรือพื้นโต๊ะ
ซึ่ง ผู้เล่นจะเอายางเส้น (ยางวง) จะเป็นวงเล็กหรือวงใหญ่ หรืออาจจะเป็นวงสีต่าง ๆ อยู่ที่ความชอบ ได้แก่ สีเขียว สีแดง สีน้ำตาล เป็นต้น นำมาวางบนพื้นคนละ ๑ เส้น
ให้ อยู่ห่างกันประมาณ ๑ ฟุต ผู้เล่นจะผลัดกันเป่ายางเส้น (ยางวง) ของตนไปข้างหน้าทีละน้อย ๆ จนยางเส้นทั้งสองมาอยู่ใกล้กันผุ้เล่นคนใดเป่าให้ยางเส้นของตนไปทับยางเส้น
ของ ฝ่ายตรงข้ามได้ก็จะเป็นผู้ชนะ ฝ่ายแพ้จะต้องจ่ายรางวัลให้กับผู้ชนะ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นยางเส้น (ยางวง) แต่อาจให้รางวัลอื่น ๆ ก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน
โอกาสหรือเวลาที่เล่น 
การเล่นเป่ากบของเด็ก ส่วนใหญ่เล่นกันในเวลาที่ว่าง และมีอุปกรณ์พร้อมที่จะเล่นกันทั้งสองฝ่าย


13
คุณค่า / แนวคิด/ สาระ 
๑. การเล่นเป่ากบ เป็นการเล่นที่ให้ความสนุกสนานแล้วยังเป็นการฝึก การรู้กำหนดจังหวะและกะระยะด้วย๒. การเล่นเป่ากบเป็นการฝึกสังเกต ไหวพริบในการเป่าของคู่ต่อสู้
ซึ่งจะเป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้เด็กรู้จักคิดให้รอบคอบก่อนที่จะเป่า ถ้าเป่าโดยไม่คิดอาจจะผิดพลาดได้ จนทำให้ต้องแพ้
๓. เป็นการฝึกเด็กรู้จักความรัก ความสามัคคี

คำอธิบาย: ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หมากรุก
ชื่อ  หมากรุม  ภาค  ใต้  จังหวัด นครศรีธรรมราช
อุปกรณ์ในการเล่น
๑) รางหมากรุม เป็นรูปเรือทำจากไม้ ยาวประมาณ ๑๓๐ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๒๐ เซนติเมตร มีหลุมเรียงเป็น ๒ แถว หลุมกว้างประมาณ ๗ เซนติเมตร ลึกประมาณ ๔ เซนติเมตร มีด้านละ ๗ หลุม เรียกหลุมว่า เมือง หลุมที่อยู่ปลายสุดทั้งสองข้างเป็นหลุมใหญ่กว้างประมาณ ๑๑ เซนติเมตร เรียกว่า หัวเมือง ๒) ลูกหมาก นิยมใช้ลูกสวดเป็นลูกหมากใส่ลูกหมากหลุมละ ๗ ลูก จึงต้องใช้ลูกหมากในการเล่น ๙๘ ลูก๓) ผู้เล่นมี ๒ คน



14
โอกาสหรือเวลาในการเล่น การเล่นหมากขุมจะเล่นในยามว่างจากการงาน เล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เป็นพักผ่อนหย่อนใจ จึงเล่นได้ทั้งวัน
คุณค่า สาระ แนวคิด
๑. การเล่นหมากขุม มีคุณค่าในการฝึกลับสมอง การวางแผนการเดินหมากจะต้องคำนวน จำนวนลูกหมากในหลุม ไม่ให้หมากตาย และสามารถกลับมาหยิบลูกหมากในหลุมของตนเองได้อีก ผู้เดินหมากขุมจึงต้องมีสายตาว่องไว คิดเลขเร็ว เป็นการฝึกวิธีคิดวางแผนจะหยิบหมากในหลุมใดจึงจะชนะฝ่ายตรงกันข้าม เป็นการฝึกให้ผู้เล่นรู้จักคิดวางแผนในการทำงานทุกอย่างสามารถนำมาประยุกต์ ใช้ในชีวิตประจำวัน
๒. เป็นการพักผ่อนหย่อนใจ นันทนาการภายในบ้าน ภายในชุมชน ให้ทั้งความสนุกสนาน และความใกล้ชิดระหว่างพี่น้อง ญาติมิตร
๓. ก่อให้เกิดการประดิษฐ์รางหมากขุม ที่มีความสวยงามและประณีต เป็นความภาคภูมิใจของผู้สร้างชิ้นงาน และยังสามารถสร้างรายได้ในการจำหน่ายรางหมากขุม
  
คุณค่าของการละเล่นไทย
การละเล่น ของไทย เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมพื้นบ้านเท่า ๆ กันกับเป็นการสะท้อนวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ มาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน และเนื่องจากเป็นการ เล่นซึ่งผู้ใหญ่บางคนอาจไม่เห็นคุณค่า นอกจากเห็นว่าเป็นแค่เพียงความสนุกสนานของเด็ก ๆ หนำซ้ำการละเล่นบางอย่างยังเห็นว่าเป็นอันตราย และเป็นการบ่มเพาะนิสัยการพนันอีก เช่น ทอยกอง หว่าหากจะมอง วิเคราะห์กันอย่างจริงจังแล้ว คุณค่าของการละเล่นของไทยเรานี้มีนับอเนกอนันต์ ดังจะว่าไปตามหัวข้อ  ต่อไปนี้
ประโยชน์ทางกาย
อัน ได้จากการออกกำลังทั้งกลางแจ้งและในร่ม เริ่มตั้งแต่เด็กเล็ก ๆ เล่น จับปูดำ ขยำปูนาหรือ โยกเยกเอย น้ำท่วมเมฆเด็กก็จะได้หัดใช้กล้ามเนื้อต่าง ๆ ในตัวพร้อมกับทำท่าให้เข้ากับจังหวะ พอโตขึ้นมาหน่อยก็จะชอบเล่นกลางแจ้งกับเด็กคนอื่น ๆ เป็นกลุ่มเล็กบ้างใหญ่บ้าง เช่น ขี่ม้าก้าน
15
กล้วย ตาเขย่ง ตีลูกล้อ วิ่งเปี้ยว ขี่ม้าส่งเมือง ตี่จับ เตย ฯลฯ การละเล่นบางอย่างมีบทร้องประกอบทำให้สนุกครึกครื้นเข้าไปอีก อย่าง รีรีข้าวสาร โพงพาง มอญซ่อนผ้า อ้ายเข้อ้ายโขง งูกินหาง นอกจากจะได้ออกกำลังกายแล้วยังได้ฝึกความว่องไว ฝึกความสัมพันธ์ของการเก็งจังหวะแขนเท้า เช่น กาฟักไข่ ได้ฝึกการใช้ทักษะ ทางตาและมือในการเล็งกะระยะ เช่น การเล่นลูกหิน ทอยกอง
ฝึกความสังเกต ไหวพริบ และการใช้เชาวน์ปัญญา จากการละเล่นหลายชนิดที่ต้องชิ่งไหวชิงพริบกันระหว่างการต่อสู้ เช่น การเล่นกาฟักไข่ ผู้ขโมยจะหลอกล่อชิงไหวชิงพริบกับเจ้าของไข่ ซึ่งต้องคอยระวัง คาดคะเนไม่ให้ใครมาขโมยไข่ไปได้ หรือการเล่นแนดบกของทางเหนือ ผู้เล่นจะรู้สึกสนุกกับ การล่อหลอกแนดให้มาแตะ แล้วตัวเองต้องไวพอที่จะวิ่งเข้าวงก่อน การเล่นเตยหรือ ต่อล่อง คนล่องก็จะหลอกล่อให้ผู้กั้นเผลอ เพื่อให้ฝ่ายตนไปได้และผู้กั้นก็ต้องคอยสังเกตให้ดีว่า ใครจะเป็นคนผ่านไป
ฝึกวินัยและการเคารพต่อกติกา การละเล่นทุกอย่างมีกฏในตัวของมันเอง ซึ่งก็มาจากพวกเด็กนั่นเองเป็นคนช่วยกันกำหนดตกลงกันขึ้นมา การเล่นจึงดำเนินไปได้ โดยจะเห็นได้จากก่อนเล่นก็จะมีการจับไม้สั้นไม้ยาว เป่ายิงฉุบ จุ่มจะหลี้ (ของทางเหนือ คล้าย ๆ จ่อจีเจี๊ยบ) หรือ ฉู่ฉี้ (เป่ายิงฉุบของทางภาคใต้ มีปืน น้ำ ก้อนอิฐ แก้ว (น้ำ) หากใครไม่ทำตามกติกาก็จะเข้ากลุ่มเล่นกับเพื่อน ๆ ไม่ได้ เป็นการฝึกการปรับตัวเข้ากับคนอื่นโดยปริยาย
ฝึกความอดทน เช่น ขี่ม้าส่งเมือง ผู้แพ้จะต้องถูกขี่หลังไปไหน ๆ ก็ได้ บางคนตัวเล็กถูกคนตัวใหญ่ขี่ก็ต้องยอม ถ้าไม่ทนก็เล่นกันไม่ได้ หรือเสือข้ามห้วย คนเป็น ห้วยต้องอดทนทำท่าหลายอย่างให้ผู้เป็น เสือข้าม บางครั้งต้องเป็น ห้วยอยู่นาน เพราะไม่มีเสือตัวใดตาย หรือหา เสือข้ามได้หมด ห้วยก็ถูกลงโทษ ถูก เสือหามไปทิ้งแล้ววิ่งหนี ห้วย
ฝึกความสามัคคีในคณะ อย่างเช่น ตี่จับในขณะที่ผู้เล่นของฝ่ายหนึ่งเข้าไป ตี่เพื่อให้ถูกตัวผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่ง แล้วจะได้วิ่งกลับฝ่ายของตน โดยไม่ถูกจับเป็นเชลยนั้น ผู้เล่นอีกฝ่ายต้องพร้อมใจกันพยายามจับผู้เข้ามา ตี่ไว้อย่าให้หลุดมือ เพราะถ้าหลุดกลับไปฝ่ายของตน ผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องกลับไป เป็นเชลยทั้งกลุ่ม หรืออย่างชักคะเย่อ ผู้เล่นของแต่ละฝ่ายต้องพร้อมใจกันออกแรงกันสุดฤทธิ์สุดเดช เพื่อให้เครื่องหมายที่กึ่งกลางของเชือกเข้าไปอยู่ฝ่ายตน
ฝึกความซื่อสัตย์ ผู้เล่นเป็นคนหาต้องผิดตาให้มิดในขณะที่คนอื่น ๆ วิ่งไปซ่อน อย่างคำร้องประกอบการเล่นชนิดนี้ว่า ปิดตาไม่มิด สารพิษเข้าตา พ่อแม่ทำนา ได้ข้าวเม็ดเดียวหรือหมากเก็บอีตัก ถ้ามือของผู้เล่นไปแตะถูกก้อนหินหรือเม็ดผลไม้ก็ต้องยอม ตายให้คนอื่นเล่นต่อ แม้ว่าคนอื่นจะไม่เห็นด้วยก็ตาม
ฝึกความรับผิดชอบ การปฏิบัติตามกติกาไม่ว่าจะเป็นการเล่นอะไร ถือว่าเป็นการแสดงความ
16
รับผิดชอบของผู้เล่น เช่น เล่นหมุนนาฬิกา ผู้เล่นทุกคนต้องจับมือกันให้แน่นแล้วหงายตัว เอาเท้ายันกัน คนยืนสลับต้องจับมือคนหนึ่งให้แน่น ๆ แล้ววิ่งรอบ ๆ เป็นวงกลมเหมือนนาฬิกา ทุกคนจึงต้องรับผิดชอบจับมือหรือยันเท้าให้มั่น จึงจะหมุนได้สนุก
นับวันการละเล่นของไทยจะหายไป นี่ คือความเป็นจริงที่น่าเสียดายเช่นเดียวกับประเพณีของไทยอีกหลาย ๆ อย่าง ซึ่งจะอยู่ยงคงได้ก็ต่อเมื่อคนไทยเท่านั้นที่รับสืบทอดมาปฏิบัติ โดยมิอาจจะอนุรักษ์เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ดังเช่น วัตถุโบราณได้ เมื่อยุคสมัยผันแปรไป ค่านิยม ความเป็นอยู่ก็เปลี่ยนแปลงไปจากวิถีการดำรงชีวิตในอดีตอย่างมากมาย
น่า เสียดายที่ว่าในปัจจุบันของเล่นต่าง ๆ มากมายทั้งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ได้เข้ามาแทนที่การละเล่นต่าง ๆของสมัยก่อนซึ่งแทบจะไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรเลย หรือถ้ามีก็จะเป็นอุปกรณ์การเล่นที่นำมาจากธรรมชาติ หรือของใช้ในครัวเรือน หรือไม่ก็คิดประดิษฐ์กันเอาเองไม่ต้องซื้อหา
ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง คือ โทรทัศน์ และวิดีโอ ซึ่งเด็กสมัยนี้ติดกันมาก แทบจะแกะตัวออกมาจากหน้าจอไม่ได้ จึงไม่น่าสงสัยเลยว่าทำไมเด็กสมัยนี้ถึงมีร่างกายกระปรกกระเปรี้ย สายตาสั้นพัฒนาการทางภาษาไม่กว้างไกล นี่ยังไม่นับเด็กอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นเด็กวัยรุ่นหรืออย่างเข้าวัยรุ่นที่กำลังหลงแสงหลงเสียงเพลงในตลับ ซึ่งภาษาในเนื้อเพลงแทบจะหาคุณค่าทางวรรณศิลป์ไม่เจอเอาเสีย








17
บทที่ 3
วิธีดำเนินการศึกษา
วิธีการดำเนินการศึกษา
เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
1. หนังสือ  การละเล่นพื้นบ้าน   
                       

3. คอมพิวเตอร์                                           
4. กระดาษ
5. ผลิตภัณฑ์ลบคำผิด                                    
6. ปากกา
ลักษณะของผลงาน
 รูปเล่มโครงงานเพลงพื้นบ้าน 1 เล่ม
 แนวทางการศึกษาค้นคว้า
ค้นหาจาก Googl ค้าหาจากหนังสือ การละเล่นพื้นบ้าน


18
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

            จากการที่ได้ศึกษาค้นคว้าโครงงาน เรื่อง การละเล่นพื้นบ้าน ทำให้ได้รู้ว่าการละเล่นพื้นบ้าน มีรากฐานมาอย่างยาวนาน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่แสดงออกถึงอัตลักษณ์และตัวตนของแต่ละภาคของคนไทย เป็นกิจกรรมนันทนาการหนึ่งซึ่งได้รับการยอมรับร่วมกันในสังคม โดยมีรากฐานมาจากความเป็นจริงแห่งวิถีชีวิตของชุมชน ที่มีการประพฤติปฏิบัติ สืบทอดกันมาจากอดีตสู่ปัจจุบัน การละเล่นแสดงออกด้วยการเคลื่อนไหวกริยาอาการเป็นหลัก อาจมีดนตรี การขับร้องหรือการฟ้อนรำประกอบการเล่น มีจุดมุ่งหมาย เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินในโอกาสต่าง ๆ การละเล่นบางชนิดได้รับการถ่ายทอดสืบสานต่อกันมา และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนารูปแบบอย่างต่อเนื่องจนมีลักษณะเฉพาะถิ่น
เนื่องจากในแต่ละภาคมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน ทั้งในด้านภาษา วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ สภาพแวดล้อม ทำให้การละเล่นของเด็ก แต่ละภาคมีความแตกต่างกันไปบ้างในเรื่องของบทร้องประกอบการละเล่น กติกา และอุปกรณ์การละเล่น แต่โดยส่วนรวมแล้วลักษณะการเล่นจะคล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่
คุณค่าของการละเล่นพื้นบ้าน
คุณค่าที่สำคัญของการละเล่นพื้นบ้าน คือ ให้ความบันเทิง สนุกสนาน         แสดงถึงความแสดงออกถึงความมีน้ำใจ สามัคคี ช่อยเหลือกัน สะท้อนวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต การแต่งกาย ฯลฯ และเป็นการปลูกฝังฝึกเด็กให้ครบองค์ที่สี่ คือ
๑. ส่งเสริมให้เด็กมีกำลังกาย แข็งแรง
๒. ส่งเสริมให้เด็กมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีไหวพริบปฏิภาณดี  ในการแก้ปัญหา
๓. ส่งเสริมให้เด็กมีจิตใจงาม มีคุณธรรมประจำใจ
19
บทที่ 5
สรุปและอภิปรายผล

            จากการที่ได้ศึกษาค้นคว้า เรื่องการละเล่นพื้นบ้าน ได้รู้ว่าการละเล่นพื้นบ้านของไทยเรานั้น มีความสัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการละเล่นของเด็กและของผู้ใหญ่ล้วนแสดงออกถึงสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณีค่านิยมและความเชื่อของสังคมนั้น ๆ ทั้งยังก่อคุณค่าแก่ผู้เล่นและผู้เฝ้าดู ในด้านการผ่อนคลายอารมณ์ ความเครียด เสริมสร้างพลังกายให้แข็งแรง ฝึกความคิด ความเข้าใจ การแก้ปัญหานอกจากนี้ยังก่อให้เกิดระเบียบวินัย เกิดการยอมรับกฎเกณฑ์ของสังคม
การละเล่นพื้นบ้าน  หมายถึง กิจกรรมการเล่นของสังคม เป็นกิจกรรมนันทนาการหนึ่งซึ่งได้รับการยอมรับร่วมกันในสังคม โดยมีรากฐานมาจากความเป็นจริงแห่งวิถีชีวิตของชุมชนที่มีการประพฤติปฏิบัติ สืบทอดกันมาจากอดีตสู่ปัจจุบัน การละเล่นแสดงออกด้วยการเคลื่อนไหวกริยาอาการเป็นหลัก อาจมีดนตรี การขับร้องหรือการฟ้อนรำประกอบการเล่น มีจุดมุ่งหมาย เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินในโอกาสต่าง ๆ
ประโยชน์ที่ได้รับ
§  ได้รู้ความหมายของการละเล่นพื้นบ้าน
§  ได้รู้ลักษณะการละเล่นพื้นบ้านของแต่ละภาค




20
บรรณานุกรม

https://nooornpimal.wordpress.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99/
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=burapakorn&month=01-08-2012&group=4&gblog=5


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น